จริงๆ เวลานี้ผมควรจะต้องทำงานอะไรสักอย่างอยู่ แต่ก็ขอเสียเวลาเล็กน้อย ในขณะที่ไอเดียกำลังพุ่งเข้ามาในหัว เขียนบันทึกเล็กๆ เอาไว้
หลายๆ คนมักจะไม่ค่อยชอบใจนัก เวลาที่กล่าวถึงความคิดแบบ เอาแต่ผล ไม่สนใจวิธีการ บอกว่าเป็นวิธีการที่เลวร้ายบ้าง แล้วแต่จะว่ากันไป
จริงๆ แล้วผมก็เข้าใจและเห็นด้วยกับสิ่งที่คนเหล่านั้นสื่อออกมา แต่ก็อยากจะเสนออีกมุมหนึ่งว่า ถ้าเราปรับกรอบหรือนิยามของมันนิดหน่อย จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่แนวคิดที่เลวร้ายเท่าไรนัก
ลองขึ้นต้นจากประโยคนี้ก่อน “ผมเชื่อว่า ผลลัพธ์เป็นตัวตัดสินวิธีการ”
แต่ผลลัพธ์ในที่นี้ ก็หมายถึงผลลัพธ์จริงๆ ผลทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงผลกระทบภายนอกทั้งหลาย (externalities)
ผมเชื่อว่าผลทั้งหมดที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวตัดสินได้ว่า วิธีการที่เราใช้ มันดีหรือไม่ดี เหมาะหรือไม่เหมาะ ลองดูจากตัวอย่างที่คุณโตมรเขียนถึงไว้ในโอเพนออนไลน์
ผมยืนสั่งกาแฟอยู่หน้าเคาน์เตอร์ แต่ก็มีคนอีกราวสามร้อยคนในความรู้สึก พากันเบียดเสียดเยียดยัดเข้ามากองหน้าเคาน์เตอร์ ไม่ใช่เพื่อสั่งกาแฟ แต่เพื่อถ่ายรูป ถ่ายเสร็จแล้วก็ไป
…
เมื่อเอาตัวรอดกลับมาจากกองทัพนักถ่ายรูปได้สำเร็จแล้ว ผมรู้สึกกับตัวเองอยู่ลึกๆว่า ดูเหมือนเวลานี้ บ้านเราจะมีแต่คนเชื่อว่า The Results always justify the means. หรือ ‘ผล’ เป็นตัวการตัดสิน ‘วิธีการ’ กันไปเสียหมดแล้ว
…
ผลก็คือ เราได้กองทัพนักถ่ายรูปที่ไม่มีความเกรงใจคนอื่น ถ่ายข้ามหัวคนอื่น ถ่ายรูปโดยไม่มีความเคารพต่อเจ้าของสถานที่ เอะอะเฮฮาสนุกสนานเพราะถือว่าเป็นวันพักผ่อนของฉัน ไม่เกรงใจคนอื่นๆที่มาใช้สถานที่เดียวกัน (ผมไม่แปลกใจอีกแล้ว ที่นักถ่ายรูปบางคนจะถูกนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นลุกขึ้นมาตั๊นหน้า หรือร้านบางร้านจะต้องออกกฎถึงขั้นสั่งห้ามถ่ายรูป!)
ถ้าเกิดเราใช้กรอบหรือนิยามที่กล่าวมา ผลในกรณีนี้คืออะไร ผลในที่นี้ไม่ได้มีแค่รูปที่ถ่ายได้ แต่ผลในที่นี้ รวมถึง welfare ที่ลดลงของคนอื่นๆ ด้วย มันก็เป็น “ผล” จากวิธีการนั้นเหมือนกัน
อย่างกรณีที่พูดถึงการเอาทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลอาจจะชัดยิ่งขึ้นไปอีก ก็ความเชื่อมั่นที่ลดลงของหลายๆ สิ่งที่เราเห็นกัน ไม่ใช่ “ผล” ของ “วิธีการ” ที่เลือกมาใช้นี้หรือ
ผมเชื่อว่า เวลาที่เราบอกว่า “เราต้องสนใจวิธีการ” จริงๆ แล้ว ความหมายมันก็คือ เราต้องสนใจผลอย่างอื่นที่เกิดขึ้น นอกเหนือไปจากผลเป้าหมายที่เราต้องการ (รูปถ่าย, ทักษิณออก, ฯลฯ) เท่านั้นเอง
คิดแบบนี้เหมือนกันแหล่ะ
แต่ประโยคนี้มันก็จำเป็น เพราะ terminology เป็นสิ่งสำคัญ
คำว่า “ผล” เนี่ย มันแทบจะแปรว่าผลของเป้าหมายซะทุกครั้งโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
ประโยคนี้ก็เหมือนเป็นตัวให้ฉุกคิดว่า ให้มองผลนอกเป้าหมายด้วย
ถ้าใช้นิยาม ผล ครอบจักรวาลแบบที่ป่านบอก
วิธีการก็ไม่มีความหมายอะไรแล้วละครับ
จริง ๆ ว่าจะลบแล้วเขียนใหม่ เพราะรู้สึกว่ามันห้วนไป แต่พบว่า เขียนแล้วลบไม่ได้ว่ะ (ฮา)
จะบอกว่า ถ้าผลในที่นี้ รวมไปถึงผลระยะยาวววว ที่มองไม่เห็นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มันก็ย่อมครอบคลุมไปถึงวิธีการอยู่แล้ว เพราะวิธีการที่ชอบธรรม มันก็เกิดขึ้นมาเพราะมันให้ผลที่ชอบธรรมในระยะยาวนี่แหละ
ส่วนเรื่องเอาคุณทักษิณ ขอแสดงความเห็นว่า ช่วงที่คุณทักษิณอยู่ในตำแหน่ง ฅนก็หมดศรัทธากับศาลไปเยอะแล้ว (จริง ๆ ตั้งแต่คดีซุกหุ้น ที่ในทางกฎหมายผิดแน่ ๆ ไปจนถึงการที่ศาลไม่รับฟ้องทั้งที่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชัด ๆ จนฅนงง) เพียงแต่ว่าตอนนั้นศาลไม่โดนโจมตี เพราะฅนถือว่า ศาลเป็น ‘ที่สุด’ และเชื่อว่า ถ้าเราไม่ยึดคำตัดสินของศาลเป็นที่สุด จะมีผลเสียในระยะยาว (แต่ปัจจุบัน ฅนที่โจมตีศาลอยู่ คงไม่ได้คิดถึง ‘ผล’ ของมันในระยะยาวเหมือนกัน)
คือที่เขียนแบบนี้เนี่ย เพราะรู้สึกว่า เวลาบอกว่า ต้องสนใจวิธีการด้วย โฟกัสมันเปลี่ยนน่ะครับ
คือเราอาจจะบอกว่า วิธีการนี้ถูก เพราะผลในระยะยาวที่เราเคยเห็นมามันดี และวิธีนั้นผิด เพราะผลที่ออกมาในระยะยาวมันไม่ดี แต่ถามว่า ถ้าใช้วิธีหลัง แล้วผลมันออกมาดี (แบบดีจริงๆ) ตกลงว่ามันจะผิดเพราะวิธีการผิดเหรอ?
ดังนั้น สิ่งที่ผมจะบอกคือ สุดท้ายแล้ว ตัวที่กำหนดว่าวิธีไหนดีไม่ดี มันก็คือ “ผล” นั่นแหละ
เพิ่มเติม: จริงๆ จะบอกว่าวิธีการไม่มีความหมายอะไร แม้จะใช้นิยามแบบนี้ ก็อาจจะไม่ถูกเสียทีเดียวนะฮะ ลองดู เรื่อง consequentialism deontological ethics แล้วก็ moral absolutism สองอันหลังก็ไม่ได้เชื่อว่าผลจะเป็นตัวกำหนดอยูดี
แค่มาบอกว่า คิดเหมือนกันเลย ฮ่าๆ